X

เมืองการบินภาคตะวันออกแล้วเสร็จพร้อมรถไฟความเร็วสูงปี 2566

มหานครการบินภาคตะวันออก มูลค่า สองแสนเก้าหมื่นล้าน หัวใจ EEC   ออกแบบผังหลักสนามบินแล้วเสร็จ พร้อมเดินหน้าต่อเนื่อง ขนานคู่รถไฟเร็วสูง ทันปี 2566

สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ที่ รัฐบาล เร่งพัฒนาให้เป็นสนามบินนานาชาติรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบินของประเทศ และเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ ภายในพื้นที่ EEC ให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก (Aviation Hub)ในระดับภูมิภาค นั่นหมายถึง จะเป็นทั้งสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 ของไทย ศูนย์ธุรกิจการค้าทางอากาศ ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินจากต่างประเทศ มารวมกันไว้ที่นี่ ด้วยงบประมาณ สองแสนเก้าหมื่นล้านบาท ซึ่งความคืบหน้าของโครงการนั้น หลังจากเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ได้มีการเปิดรับซองยื่นข้อเสนอโครงการไปแล้ว ในขณะที่รัฐบาลโดยกองทัพเรือ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเขียนพิมพ์เขียวรันเวย์แล้วเช่นกัน

 พลเรือโท ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวถึงความคืบหน้าในโครงการฯ ว่า เมืองการบินภาคตะวันออก มีโครงการสำคัญ ที่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเองหลายโครงการ เดินหน้าไปแล้ว เช่น การสร้างรันเวย์ การสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน การสร้างศูนย์สาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยมี กองทัพเรือได้ร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ทำล่วงหน้า นั่นหมายความว่ากองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบแผนแม่บทสนามบินให้แล้ว  อยู่ในขั้นตอนการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเขียนพิมพ์เขียวของสนามบิน เขียนพิมพ์เขียวของศูนย์ซ่อมอากาศยานและโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆซึ่งทั้งหมดต้องทำขนานกัน เพื่อให้เสร็จทัน

          ส่วนที่เราต้องรอคือการดำเนินการของภาคเอกชนที่จะมาร่วมทุน ซึ่งคอนเซ็ปต์ของรัฐบาลก็คือ การเชิญชวนให้ภาคเอกชน มาร่วมทุนประกอบกิจการในสิ่งที่ภาครัฐไม่ได้ทำ ได้แก่การสร้างเทอร์มินอลหลังใหม่การสร้างคลังสินค้าและคาร์โก้เทอมินอลฯลฯ ซึ่งเอกชนที่ชนะการประมูล จะได้เป็นผู้บริหารทั้งหมด และเมื่อปลายปีที่แล้ว กองทัพเรือได้เชิญชวนเอกชนที่สนใจร่วมทุน ยื่นข้อเสนอเข้ามา ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการคัดเลือกผู้ประกอบการ โดยเมื่อตอนที่ประกาศก็มีผู้ประกอบการเข้ามาซื้อซองทั้งสิ้น 42 ราย จับขั้วกันมา 3 กลุ่ม ขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการคัดเลือก ซึ่งโครงการเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า สองแสนเก้าหมื่นล้าน จะเสร็จพร้อม โครงการ รถไฟความเร็วสูง มูลค่า สองแสนสองหมื่นล้าน ในปี 2566 ตามแผงานที่รัฐบาลวางไว้ พลเรือโท ลือชัย กล่าว

          โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) ในพื้นที่ 6,500ไร่เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี และหลังจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เปิดให้บริการจะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

           แผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการให้ปัจจุบัน (Brownfield) ที่ภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม ทางวิ่งที่ 2 (Runway 2) ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยาย ตัวของสนามบิน และเปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ (Greenfield) ซึ่งภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1 และ ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน