กรุงเทพฯ – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ จัดสรรงบกลาง 1,037.48 ล้านบาท ดำเนินโครงการนำร่อง ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หวัง กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ในระดับฐานราก
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,037.48 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สทบ.) เสนอ
สทบ.ริเริ่มโครงการนี้ เนื่องจากเล็งเห็นความเดือดร้อนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ตลอดจนประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านและชุมชน ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แต่ผลผลิตหรือรายได้ลดลง จึงจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินโครงการ โดยนำโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เข้ามาขับเคลื่อน
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ตามโครงการฯ จะสนับสนุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 786 กองทุน ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจแบบ BCG 5 รูปแบบกิจกรรม ได้แก่
1.เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ แบบกลางแจ้ง/ระบบเปิด เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และจัดทำระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติด้วยโดรน
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชาวตรังบุกจี้ นายกอิ๊ง-รมช.คมนาคม แก้ปัญหาตั๋วแพง-ทิ้งงานสนามบิน
- รมว.กระทรวงดีอี ประธานมอบรางวัล งาน “มาแต่ตรัง” คว้า Creative Excellence Awards 2024 ในงานประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567
- ททท.เปิดตัวแคมเปญ "สุขท้าลอง 72 สไตล์" 72 เส้นทางเมืองน่าเที่ยว ปลุกกระแสท่องเที่ยวไฮซีซั่น
- ประธานสปช.ตรัง เกาะหนึบปัญหาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่สนามบินตรัง 1.2 พันล้าน บุกร้อง รมช.คมนาคมวันนี้
2.เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ แบบในร่ม/ระบบปิด เช่น การติดตั้งระบบการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยระบบน้ำหยด
3.เทคโนโลยีผลิตส่งเสริมทางด้านการเกษตรและอาหารครบวงจร เช่น การใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
4.เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงพลังงาน ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะ เช่น การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมัก/จุลินทรีย์
5.เทคโนโลยีผลิตน้ำดื่ม แบบครบวงจร เช่น การใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำดื่ม
นางสาวไตรศุลี ระบุด้วยว่า สทบ.ประเมินว่า โครงการจะสามารถยกระดับการผลิต การค้าและการบริการในระดับชุมชน และยังเป็นการกระตุ้นการบริโภคและลงทุนของชุมชน จากผลผลิตตามโครงการ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เข้มแข็ง และโครงการนี้จะเป็นการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ในระดับฐานรากที่ต่อเนื่องต่อไป
สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการนั้น สทบ.จะประกาศให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทราบในรายละเอียดต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: