X

ชัยภูมิอ่วม”โนรู”ซ้ำน้ำหลากท่วมโซนเศรษฐกิจกลางเมืองหนักต่อเนื่อง(คลิป)

ชัยภูมิ – ทุกฝ่ายเร่งรับมือมวลน้ำเดิมจากฝนตกหนักสะสมยังหลากเข้าท่วมโซนเศรษฐกิจหนักเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ชาวบ้านโอดพร้อมทำใจยังไม่มีโครงการป้องกันในระยะยาวได้ยั่งยืนมีแต่แก้ไขตั้งรับมวลน้ำต้องท่วมซ้ำซากทุกปี วอนรัฐบาลทุกภาคส่วนนำไปคิดต่อเป็นบทเรียนหาทางออกให้มากขึ้น หากปีนี้พายุ”โนรู”ไม่อ่อนกำลังลงยังเกิดฝนตกถล่มหนักซ้ำอีกยังหนีไม่พ้นวงวนซ้ำรอยเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำหนักกว่ารอบ 50 ปี เลี่ยงยาก ด้าน ทม.เตรียมพร้อมเปิดศูนย์อพยพคนรับมือช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้!

( 28 ก.ย.65 ) ขณะที่ จ.ชัยภูมิ นับถอยหลังสถานการณ์ใกล้วิกฤตเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยหนักสุดในรอบกว่า 50 ปี จากเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ล่าสุดในปีนี้หลังเกิดร่องมรสุมพาดผ่านมาต่อเนื่องทำให้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันมาตลอดช่วงต้นเดือน ก.ย.65 ทีผ่านมา

ซึ่งทำให้ในปัจจุบัน พื้นที่ จ.ชัยภูมิ ทั้ง 16 อำเภอ ตามแหล่งเก็บกักน้ำต่างๆที่มีทั้งหมดเต็มเกินความจุทั้งหมดแล้วในขณะนี้ ซึ่งยังมีมวลน้ำหลากอีกเป็นจำนวนมากหลากทะลักเข้าท่วมในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

จนขณะนี้โดยเฉพาะโซนเศรษฐกิจย่านกลางใจเมืองชัยภูมิ หรือเมืองพญาแล ทั้งหมดเกิดน้ำหลาทั้งจากอ่างเก็บน้ำห้วยยางบ่า,เขื่อนลำประทาว,ลำแม่น้ำชีที่ จ.ชัยภูมิ เป็นแหล่งต้นกำเนิด ได้เอ่อล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่มาต่อเนื่องมานานตลอดช่วงต้นเดือน ก.ย.65 ที่ผ่านมา จนปัจจุบัน ได้สร้างผลกระทบเกิดน้ำท่วมขังมาต่อเนื่อง สร้างผลกระทบเกิดความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ในการสัญจรใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ตามปกติ ที่ยังพอรับได้ หากไม่เกิดน้ำหลากท่วมบ้านสูงเหมือนครั้งเกิดน้ำใหญ่หนักหนักสุดในรอบกว่า 50ปี ในปี 2564 ที่ผ่านมา

และในขณะนี้หลังเกิดพายุโนรู ลูกใหม่ที่จะเคลื่อนเข้าประเทศไทยวันนี้ รวมทั้งในส่วนของพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ที่ทุกภาคส่วนในจังหวัด พยายามเร่งแก้ไขไม่ให้น้ำสะสมที่มีอยู่ในพื้นที่ขณะนี้หลากท่วมไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างน้อยที่สุดอยู่ในขณะนี้เท่าที่จะทำได้

โดยทั้งชาวบ้านในพื้นที่แทบทั้งหมด รวมทั้งผู้กำกับดูแลในพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยหนักอีกในปีนี้ นายธีวรา  วิตนากร นายกเทศมนตรีเมืองชัยภูมิ รวมทั้งทุกภาคส่วนภายในจังหวัดชัยภูมิ ต่างเตรียมความพร้อมและเริ่มทำใจว่า ปัญหาน้ำฝนตกสะสมแค่จากร่องมรสุมที่ผ่านมา ก็ยังหนักพอแรง และพอจะรับมือได้

แต่หากเกิดปัญหาอิทธิพลจากพายุลูกใหม่ประเดิมเข้าประเทศไทย ในปี 2565 นี้ จากพายุโนรู ที่จะเข้าถึงประเทศไทยและ จ.ชัยภูมิ วันนี้ที่ต้องเตรียมความพร้อมรับมือว่าจะเกิดผลกระทบหนักอีกครั้งใหญ่ของประชาชนในพื้นที่คาบเกี่ยวในทั่วประเทศ และโดยเฉพาะ จ.ชัยภูมิ ในปีนี้ก็ยากที่จะรับมือมวลน้ำจากฝนตกหนักอีกมหาศาลจากฤทธิ์พายุโนรู ก็ยากที่จะคาดเดาได้

ซึ่งขณะนี้มวลน้ำเริ่มหลากทะลักเข้าเจาะโซนเศรษฐกิจย่านกลางใจเมืองเกือบทั้งหมดเริ่มได้รับผลกระทบมีน้ำหลากท่วมถนนแทบทุกสาย ย่านบ้านเรือนประชาชน ย่านร้านค้าผู้ประกอบการ ได้รับผลกระทบถูกน้ำท่วมจ่อเข้าท่วมบ้าน อาคารสถานที่ศูนย์ราชการต่างๆแล้ว ที่ล่าสุดวันนี้ทางทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จ.ชัยภูมิ ได้ประกาศให้ประชาชนในพื้นที่พร้อมอพยพสิ่งของและเปิดศูนย์ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดแล้ว

ซึ่งเสียงชาวบ้านในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ในขณะนี้ ก็พร้อมทำใจ และอยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับสูงถึงรัฐบาลโดยตรง ที่หน่วยงานในพื้นที่เฉพาะ จ.ชัยภูมิ คงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขป้องกันในระยะยาวยาว เพราะที่ จ.ชัยภูมิ เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่ชี ที่ยาวที่สุดในประประเทศไทยเกือบ 600 กิโลเมตร( กม.) ใช้หล่อเลี้ยงชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือคนทั่วภาคอีสานมายาวนาจนปัจจุบัน

หากยังแก้ปัญหาการจัดการปัญหาที่ต้นน้ำไม่ได้ ก็ยากที่จะแก้ปัญหาเกิดน้ำท่วมใหญ่ให้กับชาวพื้นที่ในภาคอีสานทั้งหมดที่มีประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยให้มีวิถีชีวิต อาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก ก็ยากที่จะลืมตาอ้าปากได้สักที และยังต้องหนีไม่พ้นวังวนเกิดปัญหาน้ำท่วมหนักซ้ำหาซ้ำซากอีกเป็นประจำทุกปี หากยังไม่มีหน่วยงานโดยเฉพาะทางรัฐบาลที่จะเข้ามาดำเนินการโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในระยะยาวให้กับประเทศไทยได้เสียทีในขณะนี้ด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุทธิพงศ์ เสฏฐรังสี

สุทธิพงศ์ เสฏฐรังสี

น้อมรับการทำหน้าที่สื่อเพื่อประชาชนมายาวนานกว่า25ปีเพื่อชาวชัยภูมิพร้อมเป็นเครือข่ายการทำหน้าที่สื่อมวลชนที่ดีในนามสมาคมนักข่าวจังหวัดชัยภูมิและชมรมสื่อมวลชนชัยภูมิพร้อมรับใช้ชาวชัยภูมิและเป็นเวทีให้กับประชาชนทุกท่านตลอดไปมีอะไรเดือดเนื้อร้อนใจติดต่อมาที่ทีมงาน77ข่าวเด็ดชัยภูมิเราได้หรือที่[email protected]